TH | EN
TH | EN
spot_imgspot_imgspot_img
หน้าแรกTechnologyAI ที่ใช้งานได้จริง! วิเคราะห์เส้นทาง Typhoon ผ่าวิธีคิดแบบ SCBX สู่การก่อร่าง LLM ที่เป็นได้มากกว่านวัตกรรม

AI ที่ใช้งานได้จริง! วิเคราะห์เส้นทาง Typhoon ผ่าวิธีคิดแบบ SCBX สู่การก่อร่าง LLM ที่เป็นได้มากกว่านวัตกรรม

โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model) หรือ LLM เป็นเทคโนโลยีเบื้องหลังของแอปพลิเคชัน AI ที่เติบโตเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์อย่าง ChatGPT ดีกรีความสำคัญสูงลิ่วนี้ ทำให้คนไทยตื่นเต้นกันมากเมื่อ SCB 10X ประกาศเปิดตัว “ไต้ฝุ่น” หรือ Typhoon-7B ช่วงต้นกุมภาพันธ์ 2024 ด้วยฐานะ LLM ที่พัฒนาให้เข้าใจและสื่อสารภาษาไทยโดยเฉพาะ ต่างจาก LLM ในท้องตลาดทุกวันนี้ที่มักมุ่งเน้นพัฒนาภาษาอังกฤษเป็นหลัก 

ในขณะที่การแจ้งเกิด Typhoon ของ SCB 10X นั้นโดดเด่นมากเรื่องความเก่ง แต่อีกไฮไลต์ที่ไม่อาจมองข้ามไปได้คือเส้นทางการพัฒนาโมเดล AI ขนาดใหญ่ฝีมือคนไทย เนื่องจาก SCB 10X มีมุมมองที่น่าสนใจจนทำให้ Typhoon เป็นตัวอย่างที่ดีมากของความจำเป็นในการตกผลึกกรอบความคิดก่อนการสร้างนวัตกรรม ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบอื่นที่ครอบคลุมได้ไกลกว่าการมีแต่เทคโนโลยีที่ดี นั่นคือการมีประโยชน์และเป็นที่ต้องการสำหรับผู้ใช้จริง

กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร” Head of R&D Innovation Lab บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) และ CEO บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ได้บอกเล่าเรื่องราวการเดินทางของ Typhoon ไว้อย่างน่าฟังในงาน The Story Thailand Forum 2024 โดยเฉพาะมุมมองจากอินไซต์ที่สะท้อนว่าคนทำงานในองค์กรซึ่งมีพร้อมทั้งคนและทุนในการทำ AI อยู่แล้วจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อผลักดัน “ของใหม่” อย่าง AI ให้เกิดขึ้นได้จริง รวมถึงแนวทางของไอเดียตั้งต้นที่หล่อหลอมให้ Typhoon กลายเป็นโปรเจ็กต์ AI ที่มีอิมแพคลึกซึ้งกว่าการเป็นนวัตกรรมแปลกใหม่ดูสวยหรู 

มองให้ไกลกว่าเทคโนโลยี 

กวีวุฒิอธิบายว่า การที่องค์กรจะทำให้เกิด Innovation ได้นั้น อาจจะไม่จำเป็นต้องลงมือทำ Technology Feasibility เองทั้งหมด เนื่องจากปัจจุบันมี Open Source ให้ใช้งานมากมาย อย่างไรก็ตาม หากเลือกใช้ผิดที่หรือไม่เหมาะสมก็อาจทำให้เกิดต้นทุนสูงตามมาได้ ดังนั้น องค์กรจึงควรที่จะผลิตเทคโนโลยีที่ครบในองค์ประกอบทั้ง 3 ประเด็นตาม Framework ด้าน Innovation ซึ่งจะทำให้มุมมองการพัฒนาขยายไปคลุมพื้นที่ที่ไกลกว่าการมีเทคโนโลยีที่ดี

3 องค์ประกอบใน Framework ด้าน Innovation ที่ SCBX เลือกใช้นั้นประกอบด้วย 1. Human Desirability คือการเป็นนวัตกรรมที่ผู้คนอยากใช้งาน เพราะใช้แล้วเป็นประโยชน์ 2. Business Viability คือการเป็นนวัตกรรมที่มีส่วนช่วยสร้างธุรกิจ และ 3. Technology Feasibility คือการทำให้นวัตกรรมนั้นเกิดขึ้นได้จริง

ถามว่าทำไม Framework เหล่านี้จึงมีความสำคัญ? คำตอบคือวันนี้เทรนด์ AI กำลังเป็นเรื่องใหญ่ในโลกธุรกิจ องค์กรหลายแห่งตระหนักถึงศักยภาพของ AI และกระตือรือร้นที่จะรวม AI เข้ากับการดำเนินงานขององค์กร แต่ความท้าทายเช่น ความปลอดภัยของข้อมูล และความซับซ้อนในการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการใช้งานในวงกว้าง เพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ องค์กรจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเข้าใจกรอบความคิดชุดนี้ก่อนที่จะดำดิ่งลงไปทำโปรเจ็กต์ AI

SCB 10X เปิดตัว “Typhoon” โมเดลภาษาขนาดใหญ่ ประสิทธิภาพเทียบเท่า GPT-3.5 ในภาษาไทย

สำหรับ Typhoon เส้นทางการพัฒนาฝีมือคนไทยทำให้ Typhoon-7B เป็นโมเดลภาษาไทยขนาด 7 พันล้านพารามิเตอร์ ที่ได้รับการประเมินว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดในตลาดในขณะนี้ โดยมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ GPT-3.5 ในภาษาไทย ซึ่งสรุปได้จากการวัดผลด้วยข้อสอบภาษาไทยที่มีระดับความยากเทียบเท่าข้อสอบมัธยมปลาย เช่น O-NET, TGAT, TPAT, A-Level รวมถึงแบบทดสอบ IC (Investment Consultant) สำหรับผู้ให้คำปรึกษาด้านการลงทุน 

วันนี้ SCBX ได้ปล่อยให้ Typhoon-7B เป็น Open Source ที่องค์กรชั้นนำสามารถเข้าไปใช้งานจนล่าสุดมี User ผู้ใช้งานนับพันคน โดย Typhoon มีการใช้งานจริงไม่ต่ำกว่า 5 ด้าน ซึ่งทุกด้านสามารถตอบสนองความต้องการด้านภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของภาษาไทย

AI ที่ใช้การได้จริง

1 ใน 5 ด้านการใช้งานที่โดดเด่นของ Typhoon คือการสรุปเนื้อหาที่รองรับ 2 ภาษา โดยผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อให้ Typhoon สรุปใจความได้ ผลลัพท์ของ Typhoon จะสามารถเขียนได้เหมือนคนไทยที่ผสมไทยคำ-อังกฤษคำ เบื้องต้นแม้จะยังประมวลผลไม่แน่นอน 100% แต่ SCBX ได้ทดลองนำไปใช้งานในองค์กรเพื่อพัฒนาต่อ

ด้านที่ 2 คือการสร้างประโยค โดยเฉพาะการร่างประโยคสำหรับการนำเสนอ ซึ่งผู้ใช้จะมั่นใจว่าประโยคที่ Typhoon ประมวลผลมาให้นั้นมีความสอดคล้องและเหมาะสมตามบริบท ขณะที่ด้านที่ 3 คือการ  Intergate กับ Workflow ของคนทำงานมากขึ้น เช่น การบูรณาการเวิร์กโฟลว์เพื่อช่วยงานในองค์กรด้านต่างๆ เช่น การตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับหุ้น ซึ่ง Typhoon สามารถสร้างคำตอบตามข้อมูลปัจจุบัน และยังเพิ่มข้อมูลอ้างอิง ซึ่งช่วยลดภาระงานของผู้ปฏิบัติงานได้

ด้านที่ 4 คือการวิเคราะห์ความรู้สึก โดย Typhoon สามารถวิเคราะห์ความรู้สึกจากการโต้ตอบแชทได้ เป็นการวิเคราะห์ Sentiment Analysis ของผู้คนได้ทันทีจากการพูดคุยในแชท และด้านที่ 5 คือการสรุปปัญหา-แนวทางแก้ไข เพราะ Typhoon สามารถแบ่งกรณีต่างๆ ออกเป็นปัญหาและแนวทางแก้ไข ช่วยอำนวยความสะดวกในกระบวนการควบคุมคุณภาพ

SCBX เปิดเวที “Typhoon Hackathon 2024” หาทีมนักพัฒนาแอปฯ ต่อยอดโมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่ “ไต้ฝุ่น”

“เพราะคนที่อยู่หน้างานอาจจะไม่สามารถนำข้อมูลมาตอบได้ในทันที หากเราเข้าใจ User ในหน้างานจะทำให้งานลดลงได้ โดยการ Generate คำตอบจากข้อมูลที่มีอยู่จริง และเลือกคำตอบในการตอบได้ในสไตล์ของผู้ใช้งานเอง โดยมีการแนบแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมมาให้ด้วย ซึ่งเราไม่ได้พูดถึงการลดคน แต่พูดถึงประสิทธิภาพของการทำงานที่ทำได้เร็วมากขึ้นกว่าเดิมด้วยการใช้ AI วิเคราะห์ Sentiment Analysis ของคนได้ทันทีจากการพูดคุยในแชต ทำการสรุปเคสออกมาเป็น Problem และ Solution เพื่อให้ QC ตรวจต่อได้ AI สามารถสร้าง Value ให้กับคนหน้างานได้ด้วยเหมือนกัน”

กวีวุฒิทิ้งท้ายว่า ความต้องการของ SCBX ในวันนี้คือการนำเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับ “คนหน้างาน” จริง ๆ และจะให้ความสำคัญกับการ Move ไปสู่ Center หรือการขยับไปโฟกัสกับแก่นของการพัฒนาธุรกิจ เช่น การดูเรื่องค่าใช้จ่าย และการทำ Business “ก่อนจะไปถึงจุดนั้น ควรเริ่มจากเรื่อง Human เพราะเป็นส่วนที่ทำได้ง่ายมากที่สุด ก่อนขยับไปสู่มุมใหญ่ ๆ เพิ่มเติม ไม่อย่างนั้นเทคโนโลยีจะเป็นแค่ของใหม่ แต่ไม่ตอบโจทย์หรืออิมแพคกับใครเลย”

นี่จึงเป็นไอเดียตั้งต้นที่ทำให้เกิด AI ที่ใช้งานได้จริง ส่งให้ Typhoon เป็น LLM ที่เป็นได้มากกว่านวัตกรรม และ Insprie ให้กับคนรุ่นใหม่ได้อย่างแท้จริง.

บทความอื่น ๆ จากงาน The Story Thailand Forum 2024

Looloo แชร์เคสธุรกิจที่ใช้ AI จนประสบความสำเร็จ แนะ SMEs ปรับใช้ เพิ่มความได้เปรียบ

ความยั่งยืน คือหมุดหมายปลายทางของ ESG ที่ปฏิบัติจริงของ ‘แปซิฟิกไพพ์’

“Career” และ “Role” หมวก 2 ใบของนักธุรกิจที่ช่วยสร้างโลกให้ยั่งยืน

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ