TH | EN
TH | EN
spot_imgspot_imgspot_img
หน้าแรกSustainabilityจาก Net Zero สู่ Net Positive เพื่อก้าวสู่เส้นทาง Sustainability อย่างสมบูรณ์

จาก Net Zero สู่ Net Positive เพื่อก้าวสู่เส้นทาง Sustainability อย่างสมบูรณ์

สำหรับองค์กรที่มุ่งหน้าไปสู่ความยั่งยืน หรือ Sustainability คำว่า Net Zero อันหมายถึงเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ คือสิ่งที่กลายเป็นเป้าหมายสำคัญ ที่ต้องไปให้ถึงในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่ส่วนใหญ่วางเป้าหมายไว้ที่ปี 2050 หรือเร็วกว่านั้น

และในขณะที่แนวคิด “Net Zero” หมายถึงการทำให้การปล่อยก๊าซสมดุลกับการกำจัดเพื่อให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอน องค์กรหลายแห่งกำลังหันมาให้ความสนใจกับกรอบแนวคิดใหม่ (New Paradigm) ที่เรียกว่า “Net Positive” แนวคิดในการทำธุรกิจหรือดำเนินการที่ไม่เพียงแต่ลดผลกระทบด้านลบให้เป็นศูนย์ แต่ยังสร้างผลกระทบด้านบวกเพิ่มให้กับสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างจริงจัง ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Net Positive Assessment ที่เป็นการวัดผลกระทบด้านบวกและด้านลบขององค์กรในมิติต่างๆ ซึ่งครอบคลุมหลายด้านของการดำเนินงาน

“Net Positive Assessment มีความสำคัญและมีความน่าสนใจในการที่จะทำให้เจ้าของกิจการได้เห็นว่าเราจะสามารถเพิ่มความสามารถในการดำเนินงาน (Capacity) ได้อย่างไรเมื่อมีการคำนึงถึงบริบทด้านความยั่งยืนเข้าไป ด้วยวิธีการคำนวนนี้องค์กรสามารถนำมาเผยแพร่เพื่อสื่อสารกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders) ได้ว่าจากนี้ไปใบเสนอราคาอาจไม่ได้บอกแค่ราคาสินค้า แต่ยังสามารถบอกได้ถึงปริมาณของการปล่อยก๊าซ (Emission Footprint) ของผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงผลกระทบในเชิงลึก (Second Order Effect) ซึ่งเป็นศักยภาพ (Potential)” ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวในการพูดบนเวทีในหัวข้อ “Technology: The twin factors of sustainability from Net Profit to Net Positive” ในงานที่จัดขึ้นโดย The Story Thailand เมื่อไม่นานนี้

เทคโนโลยียุคดิจิทัล – ความท้าทายในเส้นทางการเดินทางสู่ Sustainability

ดร.พิพัฒน์ บอกว่า ยุคที่เราอยู่ในปัจจุบันนี้ คือยุคของ Green หรือยุคที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม อันเป็นสิ่งที่เคยถูกทิ้งไว้ข้างหลังในช่วงของยุค Industrial Age ที่ผ่านมา ซึ่งกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้วันนี้ทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และเรื่องของโลกร้อน เรื่องของขยะ และพลาสติกก็กลายเป็นปัญหาที่ต้องเข้ามาแก้ไขและฟื้นฟู วันนี้จึงมีเทคโนโลยีมากมายที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหา หรือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในแต่ละช่วงของวิวัฒนาการ จะมีเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอยู่ในทุกยุค โดยมีบริบทแตกต่างกันไปตามยุคสมัย

“ในบริบทความยั่งยืนขององค์กร จะขอเน้นเฉพาะในกรอบของคอร์ปอเรท จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีเข้ามามีปัจจัยในสองส่วน ส่วนหนึ่งคือตัวเทคโนโลยีเองที่เป็นปัจจัยความยั่งยืนในตัวเอง หมายความว่าทุกๆ โซลูชันที่เราใช้ ไม่ว่าจะเป็นโน๊ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์ หรือดาต้าเซ็นเตอร์ต่างก็มีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเข้าเกี่ยวข้อง ทั้งเรื่องของการใช้พลังงานไฟฟ้า การใช้น้ำเพื่อการระบายความร้อน เป็นต้น ในประเด็นนี้ เราจะเห็นว่าตัวเทคโนโลยีทำให้เกิดประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมบางอย่าง ถ้าจะเอาเทคโนโลยีมาใช้งานก็ต้องคำนึงว่าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมีอะไรบ้าง จะสามารถเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีที่เป็นทางเลือก (Alternatives) ได้หรือไม่ อันนี้คือประเด็นแรก” ดร.พิพัฒน์ กล่าว

“ประเด็นที่สอง เทคโนโลยีที่เป็นเครื่องมือเพื่อเพิ่มความยั่งยืนให้กับองค์กร หมายความว่าทุกวันนี้ องค์กรมีเป้าหมายที่จะนำกิจการให้มีความยั่งยืน ทำอย่างไรที่จะใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือไปสู่ความยั่งยืนได้ตามที่คาดหวัง จะเห็นว่าถ้าเข้าใจบริบทของเทคโนโลยีในสองประเด็นนี้ จะทำให้วิเคราะห์ได้ละเอียดและรอบคอบขึ้นว่า เทคโนโลยีแต่ละชิ้น แต่ละโซลูชันที่นำมาใช้จะมีบทบาทอย่างไรในความยั่งยืนขององค์กร”

เนื่องจากยุคนี้คือยุคของดิจิทัล การตอบรับการลงทุนในเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายทั้งในด้านการลดต้นทุน การทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือตอบรับกับกระแสสีเขียวให้ดำเนินการได้โดยลดการปลดปล่อยคาร์บอน (Carbon emission) ได้มากขึ้น

ดร.พิพัฒน์ยกตัวอย่าง 3 เทคโนโลยีที่มีการพูดถึงนำมาใช้ ได้แก่ ดาต้าเซ็นเตอร์ บิตคอยน์ และ GenAI

“ถ้าเราเอาบริบทความยั่งยืนไปจับ จะทำให้เห็นข้อมูลเชิงลึก (Insights) บางอย่างเพิ่มขึ้นจากเดิม จากที่เคยเห็นว่าเป็นเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์กับองค์กร นำพาองค์กรให้เติบโตและขยายตัวได้ มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ข้อมูลสถิติที่อาจทำให้แปลกใจ ดาต้าเซ็นเตอร์คือตัวอย่างแรก จะเห็นว่าข้อมูลจากกระทรวงพลังงานสหรัฐ บ่งขี้ว่าดาต้าเซ็นเตอร์มีการใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่าอาคารพาณิชย์ประมาณ 100 – 200 เท่า อาจจะเป็นต่อหลังต่ออาคาร แต่ตัวเลขที่เป็นต่อพื้นที่ใช้สอย (Space Floor) อยู่ที่ประมาณ 10-50 เท่า ยิ่งกว่านั้นคือ ดาต้าเซ็นเตอร์ทำงาน 24/7 ชี้ให้เห็นว่า Footprint ของดาต้าเซ็นเตอร์หนึ่งมีการใช้พลังงานที่ค่อนข้างเยอะมาก และจากข้อมูลที่ Google เปิดเผยในปี 2022 มีการใช้น้ำประมาณ 1.7 ล้านลิตรต่อวันในการดำเนินงานของ Google Data Center เพื่อการระบายความร้อน (Water Cooling)”

สำหรับบล็อกเชนเอง มีข้อมูลของ Cambridge Center for Alternative Finance ในปี 2022 ที่ชี้ให้เห็นว่าในการทำ Bitcoin Mining จะใช้ปริมาณไฟฟ้าอยู่ที่ 107 terawatt hour (TWh) [1 terawatt hour = 1,000,000 megawatt hour] ถ้าเทียบกับพลเมืองสหรัฐที่มีการใช้ตู้เย็นในบ้าน หมายความว่าการใช้ไฟฟ้ากับตู้เย็นในครัวเรือนสหรัฐทุกหลังยังน้อยกว่าการใช้พลังไฟเพื่อขุดบิตคอยน์ และพลังงานที่ขุดบิตคอยน์ก็ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกประมาณเกือบ 200 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่านี่คือข้อมูลตั้งแต่ที่ bitcoin เกิดขึ้นจนมาถึงปี 2022

ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพระหว่างการขุด bitcoin กับการทำเหมืองทอง หรือโกลด์มายนิง จะพบว่าตัวเลขไม่ได้มีการห่างกันเท่าไหร่ การขุดทองจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาที่ 100 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ขณะที่ bitcoin ที่เป็นอะไรที่จับต้องไม่ได้จะอยู่ที่ 72.85 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี นี่คือตัวเลขของ footprint ที่ชี้ให้เห็นว่าตัว blockchain mining ก็น่าจะมีเรื่องของการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญเช่นเดียวกัน

ดร.พิพัฒนา ยกกรณีของ GenAI ในมุมมองของการใช้น้ำเพื่อระบายความร้อน ข้อมูลนี้มาจากเอกสารการวิจัยที่ระบุว่า ในทุกๆ 10-50 คำถามที่เราถาม Gen AI จะใช้ปริมาณน้ำประมาณ 17 ออนซ์หรือประมาณครึ่งลิตร ในขณะที่ทางไมโครซอฟท์มีการเก็บตัวเลขว่าการสอนหรือการเทรน GPT 3 ใช้น้ำไปประมาณ 700,000 ลิตรภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ 

ในแวดวงของความยั่งยืนมีการทำ water footprint ออกมาเป็น 3 สโคป ในส่วนของ on-site water เราจะทรีตออกมาเป็นสโคป 1 เป็นน้ำในการระบายความร้อนโดยตรงในเวลาที่รัน AI แต่ถ้าเป็นการใช้ไฟจากแหล่งพลังงานหรือโรงไฟฟ้า เจ้าของ AI ต้องมีความรับผิดชอบเลยไปถึงสโคป 2 เพราะเป็นการใช้พลังงานแบบ indirect เพราะโรงไฟฟ้าต้องมีการใช้น้ำในการ cooling รวมไปถึง chipsetที่ใช้ใน AI เพราะกว่าจะได้เซมิคอนดัคเตอร์มาก็ต้องใช้น้ำในกระบวนการผลิตมหาศาล อันนี้คือสโคป 3 

“ทั้งนี้ AI หนึ่งโมเดลสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกราวๆ 284 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเกือบ 5 เท่าของรถ 1 คันตลอดอายุการใช้งาน จะเห็นได้ว่าเบื้องหลังการใช้เทคโนโลยีเป็นเรื่องที่หนีไม่พ้นในการที่ก่อให้เกิดผลกระทบจากการใช้พลังงาน”

ถึงเวลาก้าวสู่ Net Positive

ในขณะที่ Net Zero หมายถึง กลยุทธ์การดูแลและจัดการกับผลกระทบที่เป็นลบต่อสิ่งแวดล้อมโดยทำให้ผลกระทบที่เป็นลบทั้งหมดให้ลดลง Net Positive คือเป้าหมายขั้นสูงกว่าในการหาวิธีเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกที่มากกว่าผลกระทบที่เป็นลบ โดยทำให้สิ่งแวดล้อมและสังคมดีขึ้นอย่างแข็งแรง

ที่สำคัญ Net Positive และการทำ Net Positive Assessment สามารถช่วยองค์กรเตรียมตัวล่วงหน้าสำหรับกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเข้มงวดขึ้นในอนาคต “ในอนาคตอันใกล้ถ้าประเทศไทยออกกฏหมายเรื่อง climate change ตรงนี้จะกลายเป็น cost เพราะถ้าลดการ emission ไม่ได้ตามโควต้า ก็จะเสียค่าธรรมเนียม อีกอันที่จะมาคือคาร์บอน แท็กซ์ ที่จะมาในรูปแบบผลิตภัณฑ์” ดร.พิพัฒน์ กล่าว

ด้วยความเคลื่อนไหวในรูปแบบนี้ ทางสถาบันไทยพัฒน กำลังมีแนวคิดในการที่จะก่อตั้ง Net Positive Club ขึ้น และจะมีการเปิดตัวในปีหน้า

บทความอื่น ๆ จากงาน The Story Thailand Forum 2024

“General-Purpose Technology” มองอนาคต AI ผ่านเลนส์ KBTG

ความยั่งยืน คือหมุดหมายปลายทางของ ESG ที่ปฏิบัติจริงของ ‘แปซิฟิกไพพ์’

“Career” และ “Role” หมวก 2 ใบของนักธุรกิจที่ช่วยสร้างโลกให้ยั่งยืน

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ